สถิติ
เปิดเมื่อ19/05/2012
อัพเดท14/12/2012
ผู้เข้าชม50060
แสดงหน้า70947
โพล
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




บทความ

บทที่ 6 มรดกเครือญาติ

บทที่ 6 
มรดกเครือญาติ ( ซาวิลอัรฮาม ) (10)  
เครือญาติ หมายถึง ผู้ที่เป็นญาติใกล้ชิดกับผู้ตายที่ไม่ได้รับสิทธิ์ฟัรฎ หรืออาซอบะห์. 

เครือญาติแบ่งเป็น 4 ประเภท 
1. ผู้ที่สืบเชื้อสายจากผู้ตาย ( บูนุวะห์ ทางลูก ) ได้แก่ 
ลูกของลูกสาวผู้ตาย ทั้งชายและหญิง ตลอดจนผู้สืบทอดชั้นต่ำลงไป 
ลูกของลูกสาวของลูกชายผู้ตาย ทั้งชายและหญิง ตลอดจนผู้สืบทอดชั้นต่ำลงไป 

2. ผู้ที่ผู้ตายสืบเชื้อสายมาจากเขา ( อูบูวาะห์ ทางพ่อแม่ ) ได้แก่ 
ตา และผู้สืบทอดสูงชั้นขึ้นไป เช่น พ่อของแม่ หรือพ่อของพ่อของแม่ 
ทวดหญิง ได้แก่ ยายผู้ซึ่งอยู่ในตำแหน่งถัดจากผู้ที่มิได้รับส่วนใดๆจากมรดก เช่น แม่ของพ่อของแม่ แม่ของแม่ของพ่อของแม่ 

3. ผู้สืบญาติทางพ่อแม่ของผู้ตาย ( อูคูวะห์ ทางพี่น้อง ) ได้แก่ 
ลูกของพี่น้องหญิงร่วมพ่อแม่ หรือร่วมพ่อ หรือร่วมแม่ ทั้งชายและหญิง 
ลูกสาวของพี่น้องชายร่วมพ่อแม่ หรือร่วมพ่อ หรือร่วมแม่ 
ลูกของพี่น้องชายร่วมแม่ และลูกๆของเขาในชั้นต่ำลงไป ทั้งชายและหญิง 

4. ผู้สืบญาติทางปู่ย่า ยายของผู้ตาย ( อูมูมะห์ ทางน้าอา ) ได้แก่ 
อา(พี่น้องชายหญิงของพ่อ)ร่วมแม่ ลุงป้าน้า( พี่น้องชายหญิงของแม่) 
ลูกชายและลูกสาวของผู้ที่ได้กล่าวมา 
น้าอาของพ่อร่วมแม่ ลุงป้าของพ่อ น้าอาของแม่ ลุงป้าของแม่ 
ลูกชายและลูกสาวของผู้ที่ได้กล่าวมา 
เครือญาติทั้งหมดนี้จะได้รับมรดกตามลำดับคนที่ใกล้ที่สุดเท่านั้น เหมือนรับอาซอบะห์บินนัฟซ (ด้วยตัวเอง) คือ ทางลูก ทางพ่อแม่ ทางพี่น้อง หรือทางน้าอา ตามลำดับ 

ทรรศนะของผู้รู้เกี่ยวกับการรับมรดกของเครือญาติ 
1. เครือญาติรับมรดกได้ โดยมีเงื่อนไขสองข้อ คือ ต้องไม่มีชาวฟัรฎู (ยกเว้นสามีหรือภรรยา) และไม่มีชาวอาซอบะห์
คือ ทรรศนะของท่านอบูฮานีฟะห์ และอะห์มัด อุมัร อาลี อิบนุมัสอูด และอิบนุอับบาซ 

หลักฐาน 
อัลกุรอ่าน قال الله تعالى 
وَالَّذِينَ آمَنُوا مِن بَعْدُ وَهَاجَرُوا وَجَاهَدُوا مَعَكُمْ فَأُولَٰئِكَ مِنكُمْ وَأُولُو الْأَرْحَامِ بَعْضُهُمْ أَوْلَىٰ بِبَعْضٍ فِي كِتَابِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ 
سورة الأنفال : 75 
“และบรรดาผู้ที่ได้ศรัทธาที่หลัง และได้อพยพ และต่อสู้ร่วมกับพวกเจ้านั้น ชนเหล่านี้แหละเป็นส่วนหึ่งของพวกเจ้า และบรรดาญาตินั้น บางส่วนของพวกเขาเป็นผู้สมควรต่ออีกบางส่วน ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง” 

หะดีษ ท่านนบี (ซอล) ได้กล่าวว่า ( 11 ) 
والخال وارث من لا وارث له 
และลุงน้า(พี่น้องชายของแม่)นั้น มีสิทธิ์รับมรดก สำหรับผู้ที่ไม่มีญาติอื่นแล้ว 

2. เครือญาติรับมรดกไม่ได้ และมรดกนั้นต้องไปสู่คลังอิสลาม (บัยตุลมาล) หากไม่มีผู้รับมรดกแบบฟัรฎูหรืออาซอบะห์ 
คือ ทรรศนะเดิมของชาวมาลีกียะห์และชาฟีอียะห์ และซัยด์ บินซาบิต ซาอีด บินมุซัยยับ ซาอีด บิน ญุบัยร์ อัลเอาซาอีย์ และอิบนูญารีร 

หลักฐาน 
มีรายงานจากอบูอาวูดเช่นกันแต่เป็นหะดีษที่ขาดตอน ว่าท่านนบีเคยขอต่ออัลลอฮเกี่ยวกับการแบ่งมรดกของอาหญิง(พี่น้องสาวของพ่อ)และป้าน้า(พี่น้องสาวของแม่) และมีวะห์ยูว่า ไม่ได้อะไรเลยสำหรับทั้งสอง 
สรุป ทรรศนะที่ถูกต้อง คือ ซาวิลอัรฮาม(เครือญาติ)มีสิทธิ์รับมรดก วัลลอฮุอะลัม 

วิธีการแบ่งมรดกเครือญาติ 
1. แบ่งตามลำดับชั้น ( อะห์ลุตตันซีล ) 
โดยพิจารณาแบ่งมรดกให้ผู้มีสิทธิตามลำดับความใกล้ไกลของเครือญาติโดยธรรมในประเภทนั้น ๆ ถ้าหากว่า ผู้มีสิทธิ์เป็นลูกสาวของลูกสาว ก็รับมรดกในแบบลูกสาว 
ถ้าผู้รับมรดกเป็นลูกสาวของพี่ชาย ก็รับมรดกในแบบพี่ชาย เป็นต้น 

ยกเว้น ลุงป้าน้า( خال خالة พี่น้องชายหญิงของแม่ ) พวกเขาจะได้รับสิทธิแบบแม่ 
และ อา( عمة พี่น้องชายหญิงของพ่อ ) พวกเขาจะได้รับสิทธิแบบพ่อ ซึ่งท่านอุมัร บิน คอตตอบได้แบ่งมรดกให้อาและป้า โดยแบ่งให้ป้าในสถานะแม่ และอาในสถานะพ่อ และท่านอิบนุมัสอูดก็ได้ตัดสินลักษณะนี้เช่นกัน 

ตำแหน่งเครือญาติ 
1. ลูก(ชายและหญิง)ของลูกสาว อยู่ในสถานะลูกสาว 
2. ลูกของลูกสาวของลูกชาย อยู่ในสถานะลูกชาย 
3. ลูกของพี่น้องหญิง อยู่ในสถานพี่น้องหญิง 
4. ลูกของพี่น้องหญิงร่วมพ่อ อยู่ในสถานะพี่น้องหญิงร่วมพ่อ 
5. ลูกของพี่น้องหญิงร่วมแม่ อยู่ในสถานะพี่น้องหญิงร่วมแม่ 
6. ลูกสาวของพี่น้องชาย อยู่ในสถานะพี่น้องชาย 
7. ลูกสาวของพี่น้องชายร่วมพ่อ อยู่ในสถานะพี่น้องชายร่วมพ่อ 
8. ลูกสาวของลูกชายของพี่น้องชาย อยู่ในสถานะลูกชายของพี่น้องชาย 
9. ลูกสาวของลูกชายของพี่น้องชายร่วมพ่อ อยู่สถานะลูกชายของพี่น้องชายร่วมพ่อ 
10. ลูกของพี่น้องชายร่วมแม่ อยู่ในสถานะพี่น้องชายร่วมแม่ 
11. อา (عم لأم พี่น้องชายของพ่อร่วมแม่) หรือน้าของพ่อ หรือน้าของปู่ อยู่ในสถานะพ่อ 
12. อาหญิง( عمات พี่น้องหญิงของพ่อ) หรืออาของพ่อ หรืออาของปู่ อยู่ในสถานพ่อ 
13. ลูกสาวของอา بنات العم الشقير อยู่ในสถานะอา 
14. ลูกสาวของอาร่วมพ่อ อยู่ในสถานะอาร่วมพ่อ 
15. ลูกสาวของอาร่วมแม่ อยู่ในสถานะอาร่วมแม่ 
16. ลูกสาวของลูกชายของอา อยู่ในสถานะลูกชายของอา 
17. ลูกสาวของลูกชายของอาร่วมพ่อ อยู่ในสถานะลูกชายของอาร่วมพ่อ 
18. ลูกสาวของลูกชายของอาร่วมแม่ อยู่ในสถานะลูกชายของอาร่วมแม่ 
19. ลุงป้าน้า( الأخوال والخالات พี่น้องชายหญิงของแม่) อยู่ในสถานะแม่ 
20. ลุงและป้าของพ่อ الأخوال لأب อยู่ในสถานะแม่ของพ่อ(ย่า) 
21. ลุงและป้าของแม่ الأخول لأم อยู่ในสถานะแม่ของแม่(ยาย) 
22. ทวดชายที่มาจากทางแม่ الأجداد อยู่ในสถานะแม่ 
23. ทวดชายที่มาจากทางพ่อ الأجداد อยู่ในสถานะพ่อ 
24. ทวดหญิงที่มาจากทางแม่ الجدات อยู่ในสถานะยาย 
25. ทวดหญิงที่มาจากทางพ่อ الجدات อยู่ในสถานะย่า 
26. บุคคลใดที่อยู่ระดับต่ำกว่านี้ ก็จะอยู่ในสถานะบนกว่านี้หนึ่งระดับ 


ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้ง ลูกสาวของลูกสาว ลูกชายของน้องสาว และลูกสาวของพี่ชายร่วมพ่อ 
...................................................................................2
ลูกสาวของลูกสาวคือ.....ลูกสาว..................1/2..........1
ลูกชายของน้องสาวคือ...น้องสาว.......อาซอบะห์........1 
ลูกสาวของพี่ชายร่วมพอคือ.พี่ชายร่วมพ่อ.....م............-....................โดนกันโดยน้องสาว 



ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งลูกสาวของพี่สาว ลูกสาวของน้องสาวร่วมพ่อ ลูกชายของพี่สาวร่วมแม่ 
และลูกสาวของอาชาย 
................................................................................................................6
ลูกสาวของพี่สาวคือ........................พี่สาว....................1/2........................3
ลูกสาวของน้องสาวร่วมพ่อคือ....น้องสาวร่วมพ่อ.........1/6......................1
ลูกชายของพี่สาวร่วมแม่คือ.......พี่สาวร่วมแม่.............1/6......................1
ลูกสาวของอาคือ................................อา.................อาซอบะห์.................1



ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งอาหญิง( พี่น้องสาวของพ่อ ) และป้าน้า ( พี่น้องสาวของแม่ ) 
....................................................................3
อาหญิงคือ...............พ่อ........อาซอบะห์........2 
ป้าน้าคือ..................แม่............1/3..............1


ตัวอย่าง 
.....................................6/5 
1/2ป้า...........................3 
1/6ป้าร่วมบิดา..............1 
1/6ป้าร่วมมารดา..........1 


ตัวอย่าง 
..............................................................6/4 
1/2ลูกสาวของลูกสาว...........................3 
1/6ลูกสาวของลูกสาวของลูกชาย..........1 


ตัวอย่าง 
..............................................................1 
ลูกชายของลูกสาวของลูกสาว................- 
ลูกสาวของลูกสาวของลูกชาย................1 


ตัวอย่าง 
..................................................4 
1/4ภรรยา.................................1 
ลูกชายของลูกสาว3คน..............3 


ข้อควรระวัง 
1. ไม่มีความแตกต่างระหว่างชายหญิงของการแบ่งมรดกเครือญาติ แม้จะในระดับเดียวกัน 
เช่น ผู้ตายทิ้งลูกชายของลูกสาวสามคน และลูกสาวของลูกสาว 
.............................................................................4
ลูกชายของลูกสาว3คนคือ...ลูกสาว3คน...............3
ลูกสาวของลูกสาวคือ...........ลูกสาว......................1

2. ลุงและป้าไม่มีสิทธิ์รับมรดกพร้อมกับตา เพราะพ่อกันสิทธิ์พี่น้อง 

3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครือญาติทั้งสองสถานะ จะได้รับสิทธิ์ทั้งสองสถานะ 
เช่น ผู้ตายทิ้งลูกสาวของพี่ชายร่วมแม่ (และเขาคือลูกชายของอา) ลูกสาวของลูกชายของอา 

........................................................................................................6x2..............12
ลูกสาวของพี่ชายร่วมแม่คือ............พี่ชายร่วมแม่........1/6...............1..................2..........7 
........................................................ลูกชายของอา.......อาซอบะห์.....5..................5
ลูกสาวของลูกชายของอาคือ............ลูกชายของอา................................................5 



2. แบ่งตามความใกล้ชิด ( อะห์ลุลกอรอบะห์ ) 
การแบ่งด้วยวิธีนี้เป็นการแบ่งแบบมัซฮับฮานาฟียะห์และผู้ที่ทำตามพวกเขา นั่นคือการแบ่งมรดกเครือญาติเหมือนการแบ่งมรดกแบบอาซอบะห์ ให้ผู้ที่ใกล้กว่าเท่านั้น 

ตัวอย่าง ผู้ตายทิ้งลูกสาวของลูกสาว ลูกสาวของพี่ชาย และลูกสาวของน้า 
ลูกสาวของลูกสาว รับมรดกทั้งหมด ทางลูกใกล้ที่สุด 
ลูกสาวของพี่ชาย ไม่ได้รับ ทางพี่น้อง 
ลูกสาวของน้า ไม่ได้รับ ทางน้าอา 


สรุป ทรรศนะที่ถูกต้อง คือ แบ่งตามลำดับชั้น (อะห์ลุตตันซีล) ตามทรรศนะของผู้รู้ส่วนใหญ่ วัลลอฮูอะลัม 


ทบทวนท้ายบท 
หลังจากจัดการเรื่องสิทธิ์ต่างๆของผู้ตายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าทำศพ ชำระหนี้สิน และวาซียัต(พินัยกรรม) 
เราจะแบ่งมรดกให้กับบุคคลเหล่านี้ตามลับดับดังนี้ 
1. ชาวฟัรฎู 
2. ชาวอาซอบะห์ 
3. อัรร๊อดให้ชาวฟัรฎู นอกจากสามีหรือภรรยา 
4. ซาวิลอัรฮาม (เครือญาติ) 
5. อัรร๊อดให้สามีหรือภรรยา ( 12 )


وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه ومن تبعهم بإحسان إلى يوم الدين 
وآخر دعوانا أن الحمد لله رب العالمين